Remote Sensing of Cropland Agriculture (การนำ RS มาใช้ในงานเกษตร)
การนำ Remote Sensing มาใช้ในงานเกษตร มีประวัติการใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว โดย U.S Office of Naval Research (in 1958) การนำ RS มาใช้งานด้านการเกษตรมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
– การแบ่งชนิดของพืชที่ปลูก, สภาพแวดล้อมและพื้นที่การเพาะปลูก
โดยใช้สำหรับการจำแนกชนิดของพื้ชที่ปลูก การบำรุงรักษา และการคาดการณ์ผลผลิตที่จะได้รับในแต่ละฤดูการเพาะปลูก โดยการนำแผนที่ทางภูมิศาสตร์เข้ามาใช้ประโยชน์สำหรับการจำแนกชนิดของพืชที่ปลูก
– การจำแนกลักษณะของพืชและดินสำหรับการเพาะปลูก
จากการศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นถึงการนำ RS เขามาจำแนกชนิดของดินสำหรับการเพาะปลูกที่มีความหลากหลาย รวมถึงการคาดการในการกัดเซาะและการถูกทำลายธาตุอาหารของดินและสารประกอบเคมีของดิน หากเราทราบในส่วนของรายละเอียดของดินแต่ละชนิด ทราบถึงข้อมูลของธาตุอาหารในดิน ช่วยให้เราสามารถปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพดินนั้นๆได้
– การเกษตรความแม่นยำสูง (Precision Agriculture)
การเกษตรความแม่นยำสูงอาศัยกรรมวิธีการออกแบบข้อมูลในส่วนต่างๆให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามช่วงเวลาในการใช้งาน โดยอาศัยข้อมูลต่างๆ เช่น ชนิดของดินที่มีความเฉพาะเจาะจง, ข้อมูลด้านปุ๋ย, การกำจัดศัตรูพืช, ข้อมูลการลดความปนเปื้อนของสิงแวดล้อม, นอกจากนี้ยังอาศัยข้อมูลของ GPS (Global Position System) GIS (Geographic Information System) และ RS (Remote Sensing)
ครั้งต่อไปเราจะมาดูในส่วนของ การเกษตรความแม่นยำสูง (Precision Agriculture)
0 Comments